• Welcome Message

    Hi


ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในโรงงานอุตสาหกรรม

ที่มีการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง

Safety and occupational health in industry where uses coal as a fuel

นายเลอสรรค์ วรยศวรงค์

นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมมหาบัณฑิต สาขาการตรวจสอบและกฎหมายวิศวกรรม

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

E-mail : lakto191@gmail.com

บทคัดย่อ

โรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงจำเป็นต้องมีการจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณจุดเสี่ยงสำคัญ คือ หม้อน้ำต้นกำลังและอุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้องกับหม้อน้ำต้นกำลัง การจัดการมลพิษที่สำคัญสำหรับโรงงานประเภทนี้คือการจัดการมลพิษเสียง รวมทั้งการป้องกันอัคคีภัย การจัดทำแผนป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉินซึ่งควรให้ความสำคัญในด้านที่มีความเสี่ยงสูง

คำสำคัญ : ความปลอดภัย อาชีวอนามัย การจัดการมลพิษ การป้องกันอัคคีภัย แผนฉุกเฉิน

Abstract

An industry where uses coal as a fuel needs a good safety and occupational health management. Especially, in important risky point, i.e. power boiler and its associated devices. Pollution management for this industry is to manage noise pollution, including fire prevention, prevention planning and emergency abatement which is needed to focus on high risks.

Keyword: Safety, Occupational health, Pollution management, Fire prevention, Emergency planning,

1. บทนำ

เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าในการทำงานทุกประเภทย่อมต้องมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุซึ่งทำให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน ความเสียหายต่อทรัพย์สิน และอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชนโดยรอบ จุดเสี่ยงของงานแต่ละประเภทมีลักษณะความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่างกัน การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงจำเป็นที่จะต้องมีการจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่ดี เพื่อเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ การจัดการมลพิษก็เป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อให้ไม่ให้เกิดการรั่วไหลสู่ชุมชนและสิ่งแวดล้อมภายนอก อัคคีภัยและเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ จะต้องมีการกำหนดแผนขึ้นเพื่อนำมาใช้ปฏิบัติเพื่อป้องกัน ควบคุม และเพื่อกำหนดแนวทางหรือวิธีการในการรับมือกับอุบัติเหตุตั้งแต่ยเพื่อเป็นการป้องกัน และเพื่อระงับเหตุเหล่านั้น สิ่งสำคัญประการสุดท้ายคือ การจัดให้มีมาตรการความปลอดภัยของพนักงาน

2. ความหมายของความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

2.1 ความปลอดภัยในการทำงาน

สภาวการณ์หรือสภาพการทำงานที่ปราศจากอันตรายจากการเกิดอุบัติเหตุ และการปราศจากโอกาสเสี่ยงหรือความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ อันนำมาซึ่งการได้รับบาดเจ็บ การเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต อันเนื่องมาจากการทำงาน ต่อบุคคล ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อม

2.2 อุบัติเหตุ

เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ไม่ได้มีการวางแผน ไม่ได้คาดคิดไว้ล่วงหน้า หรือขาดการควบคุม เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้เกิดการบาดเจ็บ เจ็บป่วย หรือเสียชีวิต หรือทำให้เกิดความสูญเสียต่อทรัพย์สิน หรือทำให้เกิดความเสียหายต่อสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือเกิดความเสียหายต่อสาธารณชน

2.3 ปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุในการทำงาน

- ผู้ปฏิบัติงาน

- สิ่งแวดล้อม

- อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน

2.4 สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ

- สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย

- การกระทำที่ไม่ปลอดภัย

2.5 การสร้างความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม

- Engineering การใช้ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ เช่น การออกแบบให้เครื่องจักรมีความปลอดภัยมากที่สุด

- Education การให้ความรู้ ให้การศึกษา เช่น การฝึกอบรมการเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุ

- Enforcement การบังคับ เช่น การออกกฎระเบียบเกี่ยวกับความปลอดภัยให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนปฏิบัติตาม

2.6 อาชีวอนามัย (Occupational Health)

วิชาการว่าด้วยการดูแลสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยผู้ประกอบอาชีพ การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล ตลอดจนการฟื้นฟูสมรรถภาพและการจัดการต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพสามารถประกอบอาชีพได้อย่างปลอดโรคและปลอดภัย สามารถปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิผล

การจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงถูกกำหนดตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549 และ กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552 ซึ่งกำหนดไว้อย่างชัดเจน เพื่อเป็นการรับประกันว่าผู้ปฏิบัติงานจะได้รับความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่มาตรฐานเพียงพอที่จะประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิผล

2.7 มลพิษทางเสียง (Noise Pollution)

มลพิษทางเสียง หมายถึง สภาวะของเสียงที่มีความดังมากเกินไปจนก่อให้เกิดความรำคาญ และอันตรายต่อระบบการได้ยินของมนุษย์และสัตว์

ประเทศไทยได้กำหนดค่ามาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไปตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฉบับที่ 15 พ.ศ.2540 ไว้ที่ 70 เดซิเบลเอ สำหรับค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง และ กำหนดค่าระดับเสียงสูงสุดที่ 115 เดซิเบลเอ

2.8 อัคคีภัย

อัคคีภัย คือ ภัยอันตรายจากไฟ ซึ่งเกิดจากลุกลามติดต่อไปยังบริเวณที่มีเชื้อเพลิงเพียง ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับลูกจ้าง ได้ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนว่า นายจ้างจะต้องจัดให้มีระบบป้องกันและรับอัคคีภัยในสถานประกอบการ และจะต้องมีแผนป้องกันภัยในสถานประกอบการ

3. การจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง

3.1. การลงถ่านหินจากรถบรรทุกเข้าสู่โกดัง

อาจเกิดฝุ่นถ่านหินฟุ้งกระจายในอากาศ เป็นผลทำให้พนักงานได้รับอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งสามารถจัดให้พนักงานสวมใส่หน้ากากกรองฝุ่นขณะลงถ่านหิน

อาจเกิดฝุ่นถ่านหินระเบิดเนื่องจากฝุ่นถ่านหินที่ฟุ้งกระจายอยู่นั้นสัมผัสกับความร้อนหรือประกายไฟ จำเป็นที่จะต้องควบคุมมิให้ฝุ่นถ่านหินสัมผัสกับความร้อนหรือประกายไฟฟ้า เช่น การครอบท่อไอเสียรถที่ลงถ่านหิน รวมถึงการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทนการระเบิด

นอกจากนี้การลงถ่านหินอาจทำให้เกิดฝุ่นถ่านหินฟุ้งกระจายสู่ชุมชน ควรติดตั้งระบบบำบัดและระบายอากาศ

3.2 การเก็บถ่านหิน

ไม่ว่าจะเป็นการเก็บในโกดังหรือที่โล่งแจ้งก็ล้วนแต่มีความเสี่ยงที่จะเกิดเพลิงไหม้จากการคุตัวของถ่านหิน จึงจำเป็นที่จะต้องมีการตรวจสอบค่า Volatile การจัดให้มีระบบ FIFO การจัดให้มีรางระบายน้ำรอบกองถ่านหิน และเตรียมท่อน้ำดับเพลิงให้พร้อมเสมอ

ความเสี่ยงจากการที่กองถ่านหินไม่เป็นระเบียบอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการที่มีทางเดินของรถตักไม่แน่นอนได้ซึ่งสามารถจัดการได้โดยจัดกองถ่านหินให้เป็นระเบียบ

การเก็บถ่านหินภายในโกดังมีความเสี่ยงต่อการเกิดถ่านหินระเบิดสูงกว่าเก็บในที่โล่ง จึงควรจัดให้ภายในโกดังปราศจากแหล่งความร้อนและประกายไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้าต้องเป็นชนิดที่ทนการระเบิด และที่สำคัญต้องมีระบบระบายอากาศที่ต้องมีการบำบัดที่ดีด้วย

การเก็บในที่โล่งแจ้งมีความเสี่ยงต่อการฟุ้งกระจายสู่ชุมชนของฝุ่นถ่านหิน เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบนี้ อาจจัดให้มีการสเปรย์น้ำคลุมเป็นระยะ จัดให้มีรางระบายน้ำรองรับน้ำถ่านหิน และปลูกต้นไม้เพื่อลดความเร็วลมและลดการฟุ้งกระจาย

3.3 การลำเลียงถ่านหินไปใช้งานโดยใช้รถตักเทลงสายพาน

ลักษณะความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในจุดนี้คือ การฟุ้งกระจายของถ่านหินบริเวณสายพานและบริเวณใกล้เคียง ซึ่งการฟุ้งกระจายนี้เองจะทำให้พนักงานได้รับอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ สามารถป้องกันได้โดยจัดให้พนักงานสวมใส่หน้ากากกรองฝุ่น ติดตั้งฝาครอบลงบนสายพานลำเลียง และเพื่อป้องกันพนักงานผู้ควบคุมรถตักห้องควบคุมบนรถตักจะต้องปิดสนิทและมีระบบปรับอากาศ

อีกผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นคือ การระเบิดของฝุ่นถ่านหิน เพื่อป้องกันผลกระทบนี้บริเวณที่มีการลำเลียงจะต้องไม่มีแหล่งความร้อนหรือประกายไฟใด ๆ โดยสายพานหรือลูกกลิ้งจะต้องมีการหล่อลื่นที่ดีเพื่อไม่ให้เกิดการเสียดสีกันจนเกิดความร้อน รถตักจะต้องติดตั้งระบบป้องกันประกายไฟที่ท่อไอเสีย และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆในบริเวณนี้ต้องเป็นชนิดที่ทนการระเบิด

3.4 การบดถ่านหิน

การบดถ่านหินอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการฟุ้งกระจายของถ่านหินซึ่งจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญต่อบริเวณโดยรอบและเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจของพนักงาน สามารถจัดการต่อลักษณะความเสี่ยงนี้ได้โดยการจัดให้มีการสเปรย์น้ำคลุมเป็นระยะ พร้อมทั้งให้มีรางระบายน้ำโดยรอบเพื่อระบายน้ำถ่านหิน รวมถึงการปลูกต้นไม้เพื่อลดความเร็วลมและการฟุ้งกระจายของฝุ่นถ่านหินไปยังชุมชน

การบดถ่านหินในภาชนะปิดมีความร้อนและหากมีออกซิเจนเพียงพออาจทำให้เกิดเพลิงไหม้หรือฝุ่นถ่านหินระเบิดได้ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการควบคุมให้ออกซิเจนมีปริมาณต่ำ โดยซีลท่อและบริเวณต่าง ๆ ในห้องบดด้วยไนโตรเจน และติดตั้งระบบตรวจจับความร้อนและระบบดับเพลิงอัตโนมัติเพื่อให้สามารถควบคุมและระงับเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้

3.5 ตะแกรงร่อนคัดขนาด

หากตะแกรงร่อนเป็นแบบเปิดโล่งอาจทำให้เกิดการฟุ้งกระจายของฝุ่นถ่านหินสร้างความเดือดร้อนรำคาญต่อบริเวณชุมชนโดยรอบและเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ สามารถจัดการต่อลักษณะความเสี่ยงนี้ได้โดยการจัดให้มีการสเปรย์น้ำคลุมเป็นระยะ พร้อมทั้งให้มีรางระบายน้ำโดยรอบเพื่อระบายน้ำถ่านหิน รวมถึงการปลูกต้นไม้เพื่อลดความเร็วลมและการฟุ้งกระจายของฝุ่นถ่านหินไปยังชุมชน และการปิดคลุมโดยรอบตะแกรงร่อนให้มิดชิด

ในกรณีที่ที่ร่อนมีการครอบปิด อาจมีผลกระทบต่อพนักงานที่สูดรับเอาฝุ่นถ่านหินเข้าไปซึ่งจะเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ดังนั้นควรจัดให้พนักงานสวมใส่หน้ากากกรองฝุ่น รวมทั้งควรติดตั้งระบบระบายอากาศภายในอาคารและระบบบำบัดอากาศ อีกหนึ่งผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้มีที่ร่อนมีที่ครอบปิด คือ การระเบิดของฝุ่นถ่านหินหากได้สัมผัสกับประกายไฟหรือความร้อน เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นควรจัดให้มีระบบระบายอากาศที่ดี และติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทนต่อการระเบิด

3.6 Hopper เก็บถ่านหิน

มีความเสี่ยงที่จะเกิดถ่านหินฟุ้งกระจายจำนวนมาก ซึ่งหากได้สัมผัสกับความร้อนหรือประกายไฟแล้วอาจทำให้เกิดการระเบิดได้ ดังนั้นควรจัดการบริเวณ Hopper ไม่ให้มีแหล่งความร้อนและประกายไฟ รวมถึงการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าในบริเวณนี้ควรเป็นชนิดทนการระเบิด

ความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานบนที่สูงและบริเวณบันไดทางเดินโดยรอบ พนักงานที่ปฏิบัติงานบริเวณนี้ย่อมมีความเสี่ยงที่จะพลัดตกลงมาได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้ ผู้ประกอบการควบดูแลไม่ให้พื้นทางเดินบริเวณนั้นมีสภาพดีอยู่ตลอดเวลา ต้องไม่มีช่องเปิด และควรทำราวกันในจุดที่มีอันตราย

3.7 หม้อน้ำ

มีลักษณะเสี่ยงหลายประการดังนี้

ความเสี่ยงจากการที่หลอดแก้วดูระดับน้ำวาล์วและท่อต่อเข้าหลอดแก้วอุดตัน ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นคือทำให้ระดับน้ำที่หลอดแก้วไม่ถูกต้องหรือการส่งสัญญาณแจ้งระดับน้ำไม่ถูกต้อง สามารถจัดการได้โดยตรวจสอบการทำงานของระดับน้ำในหลอดแก้วและเปรียบเทียบกับที่แสดงในห้องควบคุม เพื่อให้สามารถทราบได้ว่าการทำงานของระดับน้ำในหลอดแก้วดูระดับน้ำวาล์วและท่อต่อเข้าหลอดแก้วอุดตันหรือไม่

ความเสี่ยงจากการที่ลิ้นนิรภัยชำรุด หากแรงดันของหม้อน้ำสูงเกินไปและลิ้นนิรภัยชำรุดหรือไม่ทำงานอาจส่งผลให้หม้อน้ำระเบิด ดังนั้นควรที่จะต้องมีตรวจสอบการทำงานและบำรุงรักษาลิ้นนิรภัยตามระยะเวลาที่กำหนดหากชำรุดหรือไม่ทำงานให้เปลี่ยนใหม่ทันที

ความเสี่ยงจากการที่เครื่องควบคุมระดับน้ำอัตโนมัติชำรุด ส่งผลกระทบทำให้ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำในหม้อน้ำได้ อาจทำให้หม้อน้ำระเบิด ดังนั้นควรที่จะต้องมีตรวจสอบการทำงานและบำรุงรักษาเครื่องควบคุมระดับน้ำอัตโนมัติตามระยะเวลาที่กำหนด ชำรุดหรือไม่ทำงานให้ซ่อมแซมโดยทันที

ความเสี่ยงจากการที่ปั๊มน้ำเลี้ยงหม้อน้ำรั่วหรือทำความดันไม่ได้ตามเกณฑ์ ทำให้น้ำในหม้อน้ำแห้งซึ่งอาจทำให้หม้อน้ำระเบิดได้ ระเบิด ดังนั้นควรที่จะต้องมีตรวจสอบการทำงานและบำรุงรักษาเครื่องควบคุมระดับน้ำอัตโนมัติตามระยะเวลาที่กำหนด ชำรุดหรือไม่ทำงานให้ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่โดยทันที

ความเสี่ยงจากการที่ท่อน้ำในหม้อน้ำแตกหรือรั่ว อาจส่งผกระทบให้เกิดความดันในห้องเผาไหม้สูงและอุณหภูมิในห้องเผาไหม้ลดลง การเผาไหม้เชื้อเพลิงทำได้ยาก และอาจทำให้นำไปสู่การระเบิดได้ ดังนั้นควรจัดให้มีการตรวจสอบระบบควบคุมระดับน้ำและสัญญาณแสงหรือเสียงเตือนเป็นประจำว่ายังทำงานได้เป็นปกติหรือไม่ รวมทั้งตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ตรวจวัดความดันในห้องเผาไหม้ว่าสามารถทำงานได้ตามปกติหรือไม่

ความเสี่ยงจากการที่เกจวัดความดัน/สวิตช์ควบคุมความดันชำรุด ทำให้ไม่สามารถทราบค่าความดันภายในหม้อน้ำ จึงไม่สามารถควบคุมความความดันภายในหม้อน้ำได้ ซึ่งอาจจะทำให้ความดันภายในหม้อน้ำสูง และหากลิ้นนิรภัยไม่ทำงานอาจทำให้หม้อน้ำระเบิดได้ จึงต้องมีการปรับเทียบความแม่นยำเกจวัดความดัน/สวิตช์ ควบคุมความดันทุกปี และจะต้องตรวจสอบค่าที่อ่านได้จากเกจวัดความดันและค่าควบคุมของสวิตช์ควบคุมความดันให้มีค่าตรงกันเป็นประจำ เพื่อให้แน่ใจได้ว่าเกจวัดความดัน/สวิตช์ ควบคุมความดันทำงานได้อย่างปกติและมีความถูกต้องแม่นยำ

ความเสี่ยงและอันตรายจากฝุ่นและเสียงดังโดยเฉพาะรอบ ๆ ห้องเผาไหม้ ส่งผลกระทบให้พนักงานอาจได้รับอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจและการได้ยิน จากการได้รับฝุ่นหรือเสียงดังเกินค่ามาตรฐาน สามารถจัดการความเสี่ยงนี้ได้โดยให้พนักงานสวมใส่หน้ากากกรองฝุ่นและอุปกรณ์ลดเสียง

ความเสี่ยงและอันตรายจากความร้อน อาจส่งผลกระทบเมื่อพนักงานทีงานใกล้แหล่งความร้อนซึ่งในที่นี้คือ หม้อน้ำหรือห้องเผาไหม้เป็นเวลานาน จะทำให้อุณหภูมิร่างกายของพนักงานสูงผิดปกติ อาจเป็นลมหรือร่างกายอ่อนเพลีย วิธีการจัดการความเสี่ยงนี้คือ กำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยเมื่อต้องสัมผัสกับความร้อน จัดให้มีจุดพักห่างจากหม้อน้ำและห้องเผาไหม้ หรือจัดให้มีห้องปฏิบัติงานแบบระบบปิด ให้พนักงานสวมใส่ชุดป้องกันความร้อนทุกครั้งเมื่อต้องปฏิบัติงานที่สัมผัสกับความร้อน และตรวจสอบฉนวนหุ้มหม้อน้ำ หากพบว่าเสื่อมสภาพต้องเปลี่ยนใหม่ทันที

ความเสี่ยงจากการที่คุณภาพน้ำที่ป้อนเข้าหม้อน้ำมีความเป็นกรด-ด่างไม่เหมาะสม การเกิดตะกรันเคลือบที่ท่อไฟเล็กหรือท่อไฟใหญ่หรือท่อน้ำ ทำให้ท่อได้รับความร้อนสูงเกิน เกิดการรั่วหรือแตกถ้ารุนแรงอาจจะระเบิด สารละลายในน้ำทั้งหมด (TDS) ถ้ามีมากจะทำให้ติดไปกับไอน้ำหรือเกิดฟองที่ผิวน้ำ ทั้งหมดนี้สามารถจัดการได้โดย กรณี pH ต่ำกว่า 7 ให้ปรับสภาพน้ำโดยให้ผ่านเข้าเครื่องทำน้ำอ่อน หรือใช้ปูนขาว โซดาไฟ กรณีที่มี pH สูงกว่า 12 ขึ้นไปต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ จะต้องมีการระบายตะกอนใต้หม้อน้ำและเติมสารเคมีเป็นระยะเพื่อเป็นการปรับปรุงคุณภาพน้ำภายในหม้อน้ำ และหากพบว่าสารละลายในน้ำสูงกว่าปกติจะต้องมีการถ่ายเทน้ำภายในหม้อน้ำเป็นระยะๆทุกชั่วโมง

ความเสี่ยงจากไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้เกิดเพลิงไม้ จะต้องมีการตรวจสอบสายไฟหากพบว่าเสื่อมสภาพต้องดำเนิน-การเปลี่ยนทันที รวมทั้งต้องใช้ฟิวส์ที่มีขนาดเหมาะสมกับแอมป์ และห้ามไม่ให้มีการต่อตรงอย่างเด็ดขาด

ความเสี่ยงจากการที่กรดและด่างที่ใช้ปรับปรุงคุณภาพน้ำรั่วไหลหรือกระเด็น ทำให้พนักงานได้รับบาดเจ็บจากกรดด่างกระเด็นเข้าตาหรือบริเวณส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย วิธีการจัดการความเสี่ยงนี้คือ กำหนดให้มีการตรวจสอบและบำรุงรักษาท่อถังเก็บ ปั๊มกรด-ด่างตามระยะเวลา จัดให้พนักงานสวมอุปกรณ์ป้องกันเมื่อต้องปฏิบัติงานที่สัมผัสกับกรด-ด่าง และจัดให้มีสถานที่สำหรับล้างตาฉุกเฉินและฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินอยู่ในบริเวณใกล้เคียงและต้องให้แน่ใจว่าอยู่สภาพพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา

ความเสี่ยงและอันตรายจากการเข้าไปทำงานในยุ้งเก็บขี้เถ้าของระบบดักฝุ่นและการซ่อมบำรุงภายในหม้อน้ำ

ส่วนที่สัมผัสน้ำหรือไฟจัดว่าเป็นที่อับอากาศ ซึ่งจัดเป็นที่อับอากาศ สามารถจัดการได้โดย หากเป็นการเข้าไปทำความสะอาดจะต้องมีการขออนุมัติก่อนเข้า จัดให้มีการตรวจวัด % ออกซิเจนในบริเวณนั้นทั้งก่อนและระหว่างที่มีการปฏิบัติงานในบริเวณนั้นหากมีค่าอยู่ในช่วง 19.5-23.5%ถือว่าเป็นบริเวณอับอากาศ จะต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันในการปฏิบัติงาน จัดให้มีผู้ช่วยเหลือเฝ้าอยู่ที่ทางออกพร้อมอุปกรณ์ช่วยเหลือตามมาตรฐาน พนักงานที่เข้าไปปฏิบัติงาน ผู้ช่วยเหลือ ผู้อนุญาตและผู้ควบคุมต้องผ่านการอบรม

4. การจัดการมลพิษเสียง

มลพิษเสียงที่เกิดขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงมักเกิดในบริเวณห้องเผาไหม้ บริเวณบดถ่านหิน การป้องกันและควบคุมอันตรายมลพิษเสียงสามารถทำได้ดังนี้

4.1 การควบคุมที่แหล่งเสียง

การปรับปรุงและบำรุงรักษาเครื่องจักรให้อยู่สภาพดีอยู่เสมอ การนำวัสดุมารองส่วนที่กระทบกับพื้นโรงงาน

4.2 การควบคุมทางผ่านของเสียง

การใช้วัสดุกั้นระหว่างแหล่งกำเนิดเสียงกับพนักงานหรือจัดให้พนักงานอยู่ห่างแหล่งเสียงให้มากที่สุด

4.3 การควบคุมและป้องกันที่พนักงาน

เป็นมาตรการสุดท้าย หากการควบคุมทั้ง 2 ข้างต้นไม่สามารถทำได้ การอุปกรณ์ป้องกัน เช่นปลั๊กอุดหูหรือที่ครอบหู ซึ่งจำเป็นที่จะต้องได้รับการอบรมก่อนใช้งาน

5. การป้องกันอัคคีภัย การจัดทำแผนป้องกันและระงับ เหตุฉุกเฉิน

5.1 การป้องกันอัคคีภัย

- ภายในอาคาร ควรมีการติดตั้งเครื่องตรวจจับควันหรือความร้อน เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ

- ภายนอกอาคาร ควรติดตั้งระบบจ่ายน้ำดับเพลิงไว้ตามจุดต่าง ๆ และในจุดสำคัญ เช่น ลานกองถ่านหิน และหม้อน้ำ โดยต้องมีปริมาณน้ำสำรองสำหรับใช้ในการดับเพลิงเมื่อเกิดเหตุเพลิงอย่างเพียงพอ

5.2 การจัดทำแผนป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉิน

ควรมีองค์ประกอบดังนี้

- แผนป้องกัน

- แผนระงับ

- แผนบรรเทาและอพยพ

- แผนฟื้นฟู

แผนฉุกเฉินของโรงงานที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงควรจัดทำแผนเฉพาะในเรื่องดังนี้

- แผนฉุกเฉินกรณีเกิดไฟไหม้

- แผนฉุกเฉินกรณีหม้อน้ำระเบิด

- แผนฉุกเฉินกรณีลิกไนต์ระเบิด

5.3 มาตรการความปลอดภัยสำหรับพนักงาน

ผู้ประกอบการควรดำเนินมาตรการนี้ด้วยการจัดอบรมให้ความรู้แก่พนักงาน เช่น การอบรมเกี่ยวกับกระบวนการต่าง ๆ ภายในโรงงาน การอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งต้องมีการจดบันทึกการเกิดอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงาน โดยต้องบันทึกเกี่ยวกับสาเหตุ และความเสียหาย เพื่อเป็นการหาทางป้องกัน

6. สรุป

การจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงจะมุ่งเน้นไปที่หม้อน้ำต้นกำลัง เพราะหากเกิดระเบิดที่จุดนี้จะส่งผลเสียหายอย่างมากทั้งกับผู้ปฏิบัติงานและโรงงานแล้ว ชุมชนเองก้ออาจได้รับผลกระทบอย่างหนักด้วย แต่จุดเสี่ยงอื่น ๆ ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันจึงต้องได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีในทุก ๆ ภาคส่วนจึงจะสัมฤทธิ์ผล

กิตติกรรมประกาศ

บทความนี้สำเร็จได้ด้วยความกรุณาของท่านอาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการตรวจสอบและกฎหมายวิศวกรรม มหาวิทยาลัยรามคำแหงทุกท่าน ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชา ให้คำแนะนำเป็นอย่างดี ตลอดจนบิดามารดาของข้าพเจ้า แหล่งความรู้ต่าง ๆ ผู้ให้การอนุเคราะห์ข้อมูล

เอกสารอ้างอิง

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547.

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549.

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม, คู่มือการกำกับดูแลโรงงานอุตสาหกรรม. กรมโรงงานอุตสาหกรรม.http://www2.diw.go.th/I_Standard/index.html

นายแพทย์ณรงค์ อังคะสุวพลา และคนอื่นๆ, อาชีวอนามัย.http://guru.sanook.com/encyclopedia/อาชีวอนามัย/

กรมโรงงานอุตสาหกรรม, การป้องกันและระงับอัคคีภัย.

http://www.diw.go.th/diw_web/html/versionthai/center/fire.asp

สุรีพร จิตต์ซื่อ, มลพิษทางเสียง.http://www.thaigoodview.com/library/sema/sukhothai/sureeporn_j/toxic/sec03p01.html

ประวัติผู้เขียน

นายเลอสรรค์ วรยศวรงค์

นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมมหาบัณฑิต สาขาการตรวจสอบและกฎหมายวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Inspection

Posted by Lersun Worrayoshwarong On 8:04 PM 0 comments

From : Wikipedia

An inspection is, most generally, an organized examination or formal evaluation exercise. It involves the measurements, tests, and gauges applied to certain characteristics in regard to an object or activity. The results are usually compared to specified requirements and standards for determining whether the item or activity is in line with these targets. Inspections are usually non-destructive.

Non-Destructive Examination (NDE)or Non-Destructive Testing (NDT) describe a number of technologies used to analyze materials for either inherent flaws or damage from use. Some common methods are visual, Liquid or dye penetrant inspection, magnetic-particle inspection, radiographic testing, ultrasonic testing, eddy-current testing, acoustic emission testing, and thermographic inspection. In addition, many non-destructive inspections can be performed by a precision scale, or when in motion, a checkweigher.

A surprise inspection tends to have different results than an announced inspection. Leaders seeking to discover how well lower echelons in their organization are typically doing sometimes drop in unannounced to see what is going on and what conditions are. When an inspection is scheduled in advance, it gives people a chance to cover up or fix mistakes. A surprise inspection, therefore, gives inspectors a better picture of the typical state of the inspected object than an announced inspection.

First Strike

Posted by Lersun Worrayoshwarong On 4:16 AM 0 comments

First time writing a weblog.

Lyrics

My insides all turned to ash, so slow And blew away as I collapsed, so cold A black wind took them away, from sight And held the darkness over day, that night And the clouds above move closer Looking so dissatisfied But the heartless wind kept blowing, blowing I used to be my own protection, but not now Cause my path had lost direction, somehow A black wind took you away, from sight And held the darkness over day, that night And the clouds above move closer Looking so dissatisfied And the ground below grew colder As they put you down inside But the heartless wind kept blowing, blowing So now you're gone, and I was wrong I never knew what it was like, to be alone On a Valentine's Day, on a Valentine's Day On a Valentine's Day, on a Valentine's Day On a Valentine's Day, on a Valentine's Day (I used to be my own protection, but not now) On a Valentine's Day, on a Valentine's Day (Cause my mind has lost direction, somehow) On a Valentine's Day, on a Valentine's Day (I used to be my own protection, but not now) On a Valentine's Day, on a Valentine's Day (Cause my mind has lost direction, somehow) TEXT